Southeast Asian Fisheries Development Center/Training Department (SEAFDEC/TD)

Up

ลักษณะสภาพอากาศวิกฤติและการเดินเรือระหว่างสภาพอากาศวิกฤติ

ลักษณะสภาพอากาศวิกฤติและการเดินเรือระหว่างสภาพอากาศวิกฤติ
2023-01_navigation-critical-weather.pdf
File Size:
930.91 kB
Date:
03 February 2023

ลักษณะสภาพอากาศวิกฤติและการเดินเรือระหว่างสภาพอากาศวิกฤติ

รวบรวมและเรียบเรียง โดย คงไผท ศราภัยวานิช


แหล่งข้อมูลสภาพอากาศ

ชาวเรือและชาวประมงเป็นอาชีพที่ต้องพึ่งพาทะเลเป็นแหล่งประกอบอาชีพ เพื่อความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพยสินในการประกอบอาชีพ การรู้และทราบข้อมูลสภาพอากาศรายวัน รายสัปดาห์ เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นยิ่ง โดยสามารถหาข้อมูลสภาพอากาศได้จาก

  • การรายงานสภาพอากาศโดยสื่อต่างๆ ทั้งวิทยุและโทรทัศน์ สื่อสมัยใหม่ โซเชียลมิเดีย
  • การสอบถามไปยังสถานีตรวจอากาศและอุตุนิยมวิทยา ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
  • สอบถามและแลกเปลี่ยนข้อมูลสภาพอากาศระหว่างชาวเรือด้วยกันเอง

ลักษณะสภาพอากาศในทะเลแบ่งเป็น

  1. สภาพอากาศที่เป็นอันตรายสำหรับเรือเล็ก มีความเร็วลม 20-33 นอต หรือ 36-60 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ซึ่งจะมีคำเตือนให้เรือขนาดเล็กควรงดออกจากฝั่ง
  2. ทะเลมีคลื่นจัด มีความเร็วลม 34-47 นอต หรือ 61-84 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง ทะเลมีคลื่นสูง 6-9 เมตร
  3. ทะเลมีพายุ มีความเร็วลม 46-69 นอต หรือ 82-113 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง ทะเลมีคลื่นสูง 9-16 เมตร
  4. มีพายุไต้ฝุ่นในทะเล ความเร็วลมมากกว่า 64 นอต หรือ มากกว่า 115 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง ทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 16 เมตร
  5. พายุฝนฟ้าคะนอง ลมในบริเวณจุดศูนย์กลางของพายุฝนฟ้าคะนอง มักจะมีความเร็วมากที่สุดในบริเวณดังกล่าว จนสูงขึ้นไปถึงระยะ 3 กิโลเมตร มีลมกระโชกที่ความเร็วถึง 50 นอต หรือ 90 กิโลเมตร ต่อ ชั่วโมง ลมจะพัดจากเมฆลงข้างล่าง ก่อให้เกิดอันตรายต่อเรือเล็กโดยเฉพาะ
  6. ฝนที่ตกหนักที่สุด จะเกิดได้ใต้เมฆฟ้าคะนอง ทำให้มีทัศนวิสัยจำกัด ฝนจะตกหนักก่อนที่ฝนจะหยุดประมาณ 5-15 นาที โดยปกติจะเกิดพายุฝนฟ้าคะนองไม่เกิน 1 ชั่วโมง
  7. พายุงวงช้าง หรือนาคเล่นน้ำ (Waterspout) อาจเกิดขึ้นได้ขณะที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง งวงช้างมีลักษณะเป็นแท่งเมฆที่เริ่มต้นเกิดขึ้นใต้ฐานของเมฆพายุฟ้าคะนองและไหลลงมายังผิวน้ำ ซึ่งจะดูดน้ำขึ้นไปในอากาศ มักจะเกิดขึ้นไม่เกิน 15 นาที แม้แต่งวงช้างที่ยังไม่พัฒนาเป็นระยะสุดท้าย (มีขนาดเล็ก) แต่ก็สามารถเป็นอันตรายอย่างรุนแรง

การซัดสาดของคลื่นที่ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการเดินเรือ

ในการเดินเรือ ชาวเรือและชาวประมงต้องมีความรู้ ความชำนาญ รวมทั้งสังเกตลักษณะของคลื่นในทะเล เพื่อเป็นการป้องกันไม่เกินอันตรายแก่ชีวิตและทรัพยสิน โดยต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษในสถานการณ์ต่อไปนี้

  1. คลื่นมาทางฉากข้างเรือ จะทำให้เกิดการโคลงของเรือมากๆ เป็นผลให้สิ่งของที่อยู่บนเรือเลื่อนและเคลื่อนย้าย ก่อให้เกิดการเอียงของตัวเรือที่เป็นอันตราย จนเป็นสาเหตุให้เรือเกิดการพลิกคว่ำได้ นอกจากนี้คลื่นหัวแตกขนาดใหญ่ที่แรงก็สามารถทำให้เรือพลิกคว่ำได้เช่นกัน
  2. คลื่นมาทางท้ายเรือ การแล่นเรือโดยให้คลื่นเข้ามาทางท้ายเรือ อาจทำให้เรือเสียความสมดุล เมื่อเรืออยู่บนยอดของคลื่น ถ้าหากคลื่นมีความเร็วมากกว่าเรือ ยอดคลื่นจะยกเรือขึ้น และผ่านเรือไปทำให้เกิดอาการยอ (การยกกระแทก) เป็นสาเหตุทำให้เรือแกว่ง และไม่สามารถบังคับทิศทางของเรือได้ ซึ่งอาจจะเกิดอันตรายกับเรือ
  3. คลื่นมาทางด้านเฉียงท้ายเรือ เป็นการรวมผลร้ายที่เกิดจากคลื่นมาทางฉากข้างเรือ และท้ายเรือรวมกัน ซึ่งถือว่ามีความร้ายแรงมากที่สุดที่สามารถทำให้เรือพลิกคว่ำได้ง่ายที่สุด เมื่อทะเลมีคลื่นจัด จึงต้องหลีกเลี่ยงการเดินเรือที่จะให้คลื่นมาถึงเรือทางด้านเฉียงท้ายเรือ
 
 
 
Powered by Phoca Download


Contacts Address

Southeast Asian Fisheries Development Center/Training Department
P.O.Box 97, Phasamutchedi Samut Prakan 10290, Thailand
 This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
  +66 2425 6100
  +66 2425 6110 to 11