เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ส่งเสริมการจัดการทรัพยากรประมงโดยแนวทางเชิงระบบนิเวศ ซึ่งมีขั้นตอนการดาเนินการ

  1. อนุรักษ์ป่าชายเลนให้คงความสมบูรณ์ที่สุด โดยอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชายเลนเพื่อเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ของผึ้งโพรง
  2. เตรียมอุปกรณ์การเลี้ยงผึ้งโพรงไทย
    • กล่องเลี้ยงผึ้งโพรงไทย
    • กระป๋องพ่นควัน
    • ไขผึ้ง
    • แปรงปัดผึ้ง
    • ชุดป้องกันผึ้งต่อย (เสื้อแขนยาวกางเกงขายาว หมวกตาข่าย ถุงมือยาง)
    • อุปกรณ์สาหรับการเก็บน้้ำผึ้ง เช่น หม้อ ถาด ถังสลัดน้้ำผึ้ง กรองน้้ำผึ้ง เป็นต้น
  3. ดักล่อจับผึ้งโพรงไทยในธรรมชาติ
    – นำกล่องผึ้งไปวางดักผึ้งให้เข้ากล่อง โดยเลือกสถานที่วางที่มีร่มเงาพอสมควร และควรเป็นบริเวณลานบินของผึ้ง (สังเกตจากเสียงบินของผึ้ง)
    – นำไขผึ้งทาตรงบริเวณฝาบนด้านในของกล่องผึ้ง (เพื่อล่อให้ผึ้งเข้ามาทารังอยู่ในกล่อง)
    – ทาน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วตรงบริเวณขาวางกล่องเพื่อป้องกันศัตรูของผึ้ง เช่น มด ปลวก จิ้งจก แมลงสาบ เป็นต้น
    – ใช้แผ่นกระเบื้องวางบนกล่องเพื่อเป็นหลังคากันแดดและฝน
    – ช่วงที่เหมาะสมในการดักจับผึ้งโพรงไทยคือช่วงเดือนมกราคม ถึงเมษายน โดยเฉพาะช่วงปลายกุมภาพันธ์ถึงมีนาคมจะดักได้ง่ายขึ้น
    – หลังการวางกล่องดักแล้วประมาณ 1-3วัน ผึ้งจะเริ่มเข้ามาอยู่ในกล่อง ปล่อยให้ผึ้งค่อยๆ สร้างรวงรังต่ออีกประมาณ 2สัปดาห์
  4. ขนย้ายกล่องเพื่อนาผึ้งโพรงไทยมาเลี้ยง
    • ใช้ผ้าผืนใหญ่พอสมควรห่อคลุมกล่องผึ้งไว้
    • ใช้เชือกมัดให้ชายผ้าแนบติดกับกล่องผึ้ง
    • ยกและเคลื่อนย้ายที่กล่องผึ้งอย่างเบามือที่สุด
    • ควรทาการเคลื่อนย้ายหลังเวลา 20.00 น.
  5. เลี้ยงผึ้งโพรงไทย
    • นำกล่องผึ้งที่มีตัวผึ้งแล้วมาวางไว้ในพื้นที่มีความร่มรื่น มีแสงรำไร อาจจะอยู่บริเวณใต้ต้นไม้ ลมพัดไม่แรงมากนัก มีแหล่งน้า สะอาดใกล้ๆ และอยู่ห่างจากป่าชายเลนไม่เกิน 5 กิโลเมตร
  6. การเก็บเกี่ยวน้าผึ้ง
    • หลังจากเลี้ยงผึ้งโพรงไปได้ประมาณ 3-4 เดือน ก็จะสามารถเก็บเกี่ยวน้้ำผึ้งได้ (อาจจะเก็บเกี่ยวได้ปีละ 2-3 ครั้ง) ทำโดยการพ่นควันไล่ผึ้ง และใช้แปรงปัดตัวผึ้งออกอย่างเบามือ
    • ใช้มีดตัดรวงน้้ำผึ้ง และนารวงผึ้งไปทาการสลัดน้าผึ้ง กรองเพื่อให้ได้น้้ำผึ้งที่สะอาด และบรรจุขวด ตลอดจนนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น สบู่น้้ำผึ้ง เป็นต้น