การเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเป็นกิจกรรมหลังการจับ เพื่อจะทำให้มูลค่าของสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำได้ก็ต้องมีองค์ความรู้ทักษะ และการลงทุน เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ประมงให้มีมูลค่าสูงขึ้น ผลิตภัณฑ์ที่ได้อาจอยู่ในรูปของการทำเค็ม การตากแห้ง การรมควัน การทำเนื้อปลาบด  ข้าวเกรียบ และการหมักดอง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปเบื้องต้นจะช่วยทำลายหรือหยุดการทำงานของแบคทีเรียและเชื้อโรค การสร้างมูลค่าให้สัตว์น้ำส่งผลดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลง  การค้าที่เป็นธรรม เป็นต้น

เป้าหมาย

เพื่อเสริมสร้างและหาแหล่งรายได้ใหม่ จัดหาโอกาสใหม่ ในตลาด ลดการสูญเสียของอาหารทะเล ไม่มีสัตว์น้ำเหลือทิ้ง พัฒนาความปลอดภัยในการบริโภคผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และเพิ่มอายุในการเก็บรักษา

ทำงานอย่างไร

การสร้างมูลค่าเพิ่มจะเกิดขึ้นจากการผลักดันทางการตลาด สุขอนามัยเทคโนโลยี สิ่งอำนวนความสะดวก หรือจากสังคมและสิ่งแวดล้อม กระบวนการที่จะสนับสนุนชาวประมงโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวประมงพื้นบ้าน  ได้แก่

-การพัฒนาทักษะและองค์ความรู้ รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการเจรจาต่อรอง ศีกษาหาข้อจำกัดในด้านสังคม  วัฒนธรรม   การเมือง  และทักษะทางการตลาด

-ปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน ซึ่งรวมถึงท่าขึ้นสัตว์น้ำและอุปกรณ์ที่ใช้ในท่า  โรงงานน้ำแข็ง เป็นต้น

-ลงทุนในกิจกรรมสร้างมูลค่าเพิ่ม (การเก็บรักษา  การแปรรูป และการตลาด)

-แสวงหาตลาดใหม่  ปรับปรุงการกระจายสินค้า หรือเข้าหาตลาดขายปลีกสำหรับผู้มีรายได้สูง

-ปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกทางด้านกายภาพ และสังคม  (เช่นสหกรณ์กลุ่มต่างๆ ในชุมชน)