Southeast Asian Fisheries Development Center/Training Department (SEAFDEC/TD)

Up

เศรษฐกิจสีน้ำเงิน (Blue Economy)

เศรษฐกิจสีน้ำเงิน (Blue Economy)
Blue_economy.pdf
File Size:
1.28 MB
Date:
09 July 2021

เศรษฐกิจสีน้ำเงิน (ฺBlue Economy)

เศรษฐกิจสีน้ำเงิน หรือ Blue Economy คือ แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานการใช้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน เป็นแนวทางการขับเคลื่อนให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ควบคู่ไปกับการดูแลรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน (Sustainable use of ocean resources for economic growth, improved livelihoods, and jobs while preserving the health of ocean ecosystem)

แนวคิดเศรษฐกิจสีน้ำเงิน

  • จากการประชุมเวทีโลก (RIO+20) เกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน เกิดแนวคิดเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคพื้นดินควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  • พัฒนาเป็นแนวคิดเศรษฐกิจสีน้ำเงิน (Blue Economy) ที่ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของภาคทะเล เนื่องจากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งก็ถูกนำมาใช้ประโยชน์ ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล
  • การใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจทวีความสำคัญมากขึ้น รวมถึงการขยายตัวอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมทางทะเลและชายฝั่ง เป็นตัวเร่งให้เกิดการทำลายระบบนิเวศทางทะเล

กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

  • การทำประมง (Fisheries)
  • การขนส่งทางทะเล (Transportation)
  • การท่องเที่ยว Tourism
  • แหล่งน้ำมัน Energy

การประเมินมูลค่าเศรษฐกิจมหาสมุทรทั่วโลก (โดยสมาคมเครือจักรภพ: The Commonwealth)

  • มูลค่าเศรษฐกิจทางทะเลประมาณ 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี
  • 80% ของการค้าทั่วโลก ถูกขนส่งทางทะเล
  • มีการจ้างงาน 350 ล้านตำแหน่งในภาคการประมง
  • ในปี 2568 ประมาณการว่า 34% ของการผลิตน้ำมันดิบจะมาจากนอกชายฝั่ง
  • การเติบโตภาคเพาะเลี้ยง 50%ของผลผลิตเป็นอาหารให้กับมนุษย์

ประโยชน์จากแนวคิดเศรษฐกิจสีน้ำเงิน

  • ลดการเผชิญวิกฤตทรัพยากรเสื่อมโทรมจากการใช้ประโยชน์ (Reduce the crises of resource degradation)
  • การใช้ทรัพยากรทางทะเลที่มีมูลค่าให้เกิดความยั่งยืน เพื่อมีใช้ในอนาคต (Sustainable utilization of marine resources for next generation)
  • ภาคธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility)

การมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจสีน้ำเงิน

  • ลดมลพิษทางทะเล (Reduce Marine Pollution)
  • อนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศ (Ecosystem Conservation)
  • ส่งเสริมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (Ecotourism)
  • ไม่ทำประมงผิดกฎหมาย (Stop IUU fishing)
  • ใช้ทรัพยากรอย่างพอดี (Sufficiency utilization of resources)

 ความท้าทายของเศรษฐกิจสีน้ำเงิน

  • รัฐต้องมีการบูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจสีน้ำเงิน
  • ขาดการวางแผนระยะยาว การแก้ปัญหาทรัพยากรเป็นแบบเฉพาะจุด
  • ขาดการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นระบบ ข้อมูลทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางทะเล
  • การบังคับใช้กฎหมายประมงอย่างมีประสิทธิภาพ
  • การส่งเสริมการใช้เครื่องมือประมงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • สนับสนุนชุมชนชายฝั่งให้มีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

สรุป

แนวคิดเศรษฐกิจสีน้ำเงิน คือการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ควบคู่กับการคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล การจะขับเคลื่อนแนวคิดดังกล่าวต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน สังคม ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิต การบริโภค ที่จะช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้เกิดความยั่งยืน มีความรับผิดชอบต่อสังคม

แนวคิดนี้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ Sustainable Development Goals: SDG 14 Life below water เป้าหมายที่ 14: อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน อันมีกรอบแนวทางในการดำเนินการให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นรูปธรรมมากขึ้น

 

 
 
 
Powered by Phoca Download


Contacts Address

Southeast Asian Fisheries Development Center/Training Department
P.O.Box 97, Phasamutchedi Samut Prakan 10290, Thailand
 This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
  +66 2425 6100
  +66 2425 6110 to 11