ขยะทะเล (Marine litter)

ขยะทะเล (Marine Litter)
ขยะทะเลมาจากไหน
- กิจกรรมทางทะเลรวมถึงเครื่องมือทำประมงที่สูญหายในทะเล
- การทิ้งขยะลงสู่แม่หรือแหล่งน้ำที่เชื่อมต่อกับทะเล
- กิจกรรมบริเวณชายหาดและชายฝั่ง
ศูนย์พัฒนาการประมงฯ (SEAFDEC) กับการศึกษาขยะทะเล
ศูนย์พัฒนาการประมงฯ ได้ริเริ่มศึกษาขยะบริเวณพื้นทะเลด้วยเครื่องมือประมงอวนลาก โดยเรือสำรวจ M.V. SEAFDEC 2 ระหว่างวันที่ 7-13 มกราคม พ.ศ. 2558 บริเวณศรีราชา จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็น “การศึกษาส่วนประกอบและความหนาแน่นของขยะที่พื้นทะเลเบื้องต้น” พบว่าขยะ พวกเสื้อผ้า มากที่สุด ร้อยละ 29, รองลงมาคือ ไม้ ร้อยละ 28, พลาสติก ร้อยละ 16, โลหะ ร้อยละ 14, เศษเครื่องมือประมง ร้อยละ 3 และ ขยะอื่นๆ ร้อยละ 1
ระหว่างวันที่ 17 กันยายน – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ศูนย์พัฒนาการประมงฯ ได้ศึกษาขยะที่พื้นทะเลด้วยเครื่องมือประมงอวนลากโดยเรือสำรวจ M.V. SEAFDEC 2 ในอ่าวไทยบริเวณน่านน้ำของประเทศไทย และกัมพูชา ในการศึกษาครั้งนี้ พบว่า องค์ประกอบหลักของขยะพื้นทะเล คือ กลุ่มถุงพลาสติก มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 41.1, รองลงมา คือ เชือก อวน เอ็นและอุปกรณ์ประมง ร้อยละ 24.5, กล่องใส่อาหารร้อยละ 8.6, ผ้า ร้อยละ 4.7, ขวด ร้อยละ 4.4, และอื่นๆ ร้อยละ 16.7
และระหว่างวันที่ 26-30 มิถุนายน 2562 ได้มีการสำรวจขยะที่พื้นทะเลที่จากอวนลากโดยเรือสำรวจ M.V. SEAFDEC 2 บริเวณฝั่งตะวันตกของเกาะไผ่ จังหวัดชลบุรี จากการสำรวจ พบว่า ขยะที่มากที่สุดเป็นพลาสติก ร้อยละ 53, รองลงมา คือ ขยะประเภทผลิตภัณฑ์บรรจุอาหารพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว ร้อยละ 22, เชือก ร้อยละ 7, ขวดพลาสติก ร้อยละ 5, เครื่องมือประมง ร้อยละ 5, และอื่นๆ ประมาณร้อยละ 7